เมนู

25. ภิกขุวรรควรรณนา



1. เรื่องภิกษุ 5 รูป [252]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 5 รูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จกฺขุนา สํวโร สาธุ" เป็นต้น.

ภิกษุ 5 รูปรักษาทวารต่างกัน


ดังได้สดับมา บรรดาภิกษุ 5 รูปนั้น รูปหนึ่ง ๆ ย่อมรักษาทวาร
ทั้ง 5 มีจักษุทวารเป็นต้น รูปละทวารเท่านั้น.
ต่อมาวันหนึ่ง พวกเธอประชุมกันแล้ว เถียงกันว่า " ผมย่อม
รักษาทวารที่รักษาเขาได้ยาก, ผมย่อมรักษาทวารที่รักษาได้ยาก" แล้ว
กล่าวว่า " พวกเราทูลถามพระศาสดาแล้ว จักรู้เนื้อความนี้" จึงเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา กราบทูลถามว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์รักษาทวาร
มีจักษุทวารเป็นต้นอยู่ ย่อมสำคัญว่า ' ทวารที่ตน ๆ รักษานั่นแล เป็น
สิ่งที่รักษาได้โดยยาก, บรรดาพวกข้าพระองค์ ใครหนอแล ? ย่อมรักษา
ทวารที่รักษาได้โดยยาก."

พระศาสดาทรงแก้ความเข้าใจผิดขอภิกษุ 5 รูป


พระศาสดาไม่ทรงยังภิกษุแม้รูปหนึ่งให้น้อยใจแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ
ทั้งหลาย ทวารเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นสิ่งที่รักษาได้โดยยากแท้; อีก
อย่างหนึ่งแล พวกเธอไม่สำรวมแล้วทวารทั้ง 5 ในบัดนี้เท่านั้น หา
มิได้, แม้ในกาลก่อน พวกเธอก็ไม่สำรวมแล้ว; ก็พวกเธอไม่ประพฤติ

ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ถึงความสิ้นไปแห่งชีวิต ก็เพราะความที่
ทวารเหล่านั้น อันตนไม่สำรวมแล้วนั่นแล" อันภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอน
ว่า " เมื่อไร ? พระเจ้าข้า" จึงทรงยังเรื่องตักกสิลชาดกให้พิสดาร1 แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
" เราทั้งหลาย ไม่ได้ถึงอำนาจแห่งรากษสทั้ง-
หลายเลย เพราะความเป็นผู้ตั้งมั่น ด้วยความเพียร
อันมั่น ในอุบายเครื่องแนะนำของท่านผู้ฉลาด และ
เพราะความเป็นผู้ขลาดต่อภัย, ความสวัสดี จากภัย
ใหญ่นั้น ได้มีแล้วแก่เรา."

ซึ่งพระมหาสัตว์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว ในเมื่อราชตระกูลถึงความสิ้นไปแห่ง
ชีวิต เพราะอำนาจแห่งรากษสทั้งหลาย ประทับนั่งเหนือราชอาสน์ ณ
ภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตรดูสิริสมบัติของพระองค์แล้ว ตรัสว่า
" ชื่อว่าความเพียรนี่ สัตว์ทั้งหลายควรทำแท้ " แล้วทรงเปล่งด้วยอำนาจ
แห่งความเบิกบาน ทรงประชุมชาดกว่า " แม้กาลนั้น เธอทั้งหลายเป็น
ชน 5 คน มีอาวุธในมือ แวดล้อมพระมหาสัตว์ซึ่งเสด็จออกไปเพื่อ
ประโยชน์จะยึดเอาราชสมบัติในเมืองตักกสิลา เดินทางไปไม่สำรวมแล้ว
ในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ที่รากษสทั้งหลายนำเข้ามา ด้วยอำนาจแห่ง
ทวารมีจักษุทวารเป็นต้น ในระหว่างทาง ไม่ประพฤติในโอวาทของ
บัณฑิต แลดูอยู่ ถูกรากษสทั้งหลายเคี้ยวกิน ถึงความสิ้นไปแห่งชีวิต,
1. ขุ. ชา. 27/ข้อ 43. ปัญจภีรุกชาดก. อรรถกถา. 2/353.

ส่วนพระราชาผู้ทรงสำรวมในอารมณ์เหล่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อถึงนางยักษิณี
ผู้มีเพศดุจเทพยดา แม้ติดตามไปอยู่ข้างหลัง ๆ เสด็จถึงเมืองตักกสิลาโดย
สวัสดิภาพ แล้วถึงความเป็นพระราชา คือเราแล" แล้วตรัสว่า " ธรรมดา
ภิกษุ ควรสำรวมทวารแม้ทั้งหมด, เพราะว่า ภิกษุสำรวมทวารเหล่านั้น
นั่นแล ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม
ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านั้นว่า :-
1. จกฺขุนา สํวโร สาธุ สาธุ โสเตน สํวโร
ฆาเนน สํวโร สาธุ สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร
มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
" ความสำรวมทางตา เป็นคุณยังประโยชน์ให้
สำเร็จ, ความสำรวมทางหู เป็นคุณยังประโยชน์ให้
สำเร็จ, ความสำรวมทางจมูก เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางลิ้น เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางกาย เป็นคุณยังประโยชน์
ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางวาจา เป็นคุณยังประ-
โยชน์ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางใจ เป็นคุณยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จ, ความสำรวมในทวารทั้งปวง
เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ, ภิกษุผู้สำรวมแล้วใน
ทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้."

แก้อรรถ


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุนา เป็นต้น ในพระคาถานั้น ดัง-
ต่อไปนี้ :-
ก็ในกาลใด รูปารมณ์มาสู่คลองในจักษุทวารของภิกษุ, ในกาลนั้น
เมื่อภิกษุไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่ยังความหลงให้เกิดขึ้นในเพราะความเพ่งเล็งอันไม่สม่ำเสมอ,
ความสำรวม คือความกั้น ได้แก่ความปิด หมายถึงความคุ้มครอง ชื่อว่า
เป็นกิริยาอันภิกษุทำแล้วในทวารนั้น; ความสำรวมทางจักษุนั้นเห็นปาน
นั้น ของภิกษุนั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. นัยแม้ในทวารอื่นมี
โสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกับนัยนี้.
ก็ความสำรวมหรือความไม่สำรวม ย่อมไม่เกิดในทวารทั้งหลายมี
จักษุทวารเป็นต้นเลย, แต่ความสำรวมหรือความไม่สำรวมนี้ ย่อมได้ใน
วิถีแห่งชวนจิตข้างหน้า; จริงอยู่ ในคราวนั้น ความไม่สำรวมเมื่อเกิด
ขึ้นเป็นอกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ " ความไม่เชื่อ ความไม่อดทน ความ
เกียจคร้าน ความหลงลืมสติ ความไม่รู้ " ย่อมได้ในอกุศลวิถี. ความ
สำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ " ความเชื่อ ความอดทน
ความเพียร ความระลึกได้ ความรู้" ย่อมได้ในกุศลวิถี.
ก็ปสาทกายก็ดี โจปนกายก็ดี ย่อมได้ในสองบทนี้ว่า " กาเยน
สํวโร "
ก็คำว่าปสาทกายและโจปนกาย แม้ทั้งสองนั่น คือกายทวาร
นั่นเอง. ในกายทวารทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำรวมและ
ความไม่สำรวมไว้ในปสาททวารเทียว. ตรัสปาณาติบาต อทินนาทาน และ